เมนู

นางนาค ไม่พึงรับแพะ ไม่พึงรับไก่และสุกร ไม่พึงรับช้าง โค ม้า
และลา ฯลฯ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ และบุคคลผู้มีทิฏฐิ-
สมบัติ ไม่พึงรับนกกระทา นกกระจาบ และนกยูง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1511] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ละทุคคติได้ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ พึงเข้าถึงนรก ฯลฯ พึงเข้าถึง
กำเนิดดิรัจฉาน ฯลฯ พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.
ทุคคติกถา จบ

อรรถกถาทุคคติกถา



ว่าด้วย ทุคคติ

1

บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องทุคคติ. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดถือเอาทุคคติแม้
ทั้ง 2 คือ ทุคคติ 1 ตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ของทุคคติสัตว์ 1
เพราะไม่จำแนกประเภทอย่างนั้น จึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติละ

1. คำว่า ทุคคติมี 2 คือ ทุคคติ และตัณหาที่มีรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ คือหมายความว่า ตัณหานั้นมี
ชื่อว่า ทุคคติ ด้วย.

ทุคคติได้โดยไม่เหลือเลย ดังนี้ ดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย คำถาม
ของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ หมายถึงพระโสดาบัน พึงยินดีในรูปอัน
ยังสัตว์ให้เกิดในอบาย
เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยอำนาจลัทธิ
ของปรวาทีว่า พระโสดาบันละทุคคติไม่ได้. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้น
ทั้งนั้นแล.
คำว่า บุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติพึงเข้าถึงนรก เป็นต้น อธิบายว่า
ท่านย่อมแสดงการละทุคคติ คือ อบายภูมิ 4 หรือย่อมแสดงการละตัณหา
ที่เป็นเหตุนำไปสู่ทุคคติ มิใช่แสดงถึงการละตัณหาอันมีรูปเป็นต้นเป็น
อารมณ์ของทุคคติสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.
อรรถกถาทุคคติกถา จบ

สัตตมภวิกกถา



[1512] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้มีภพที่ 7 เป็นอย่างยิ่ง
ละทุคคติได้ หรือ ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้มีภพที่ 7 เป็นอย่างยิ่ง พึงเข้าถึงนรก พึง
เข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน พึงเข้าถึงภูมิแห่งเปรต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น บุคคลเกิดในภพที่ 7 ก็ละทุคคติได้ น่ะสิ.
สัตตมภวิกกถา จบ

อรรถกถาสัตตมภวิกกถาวัณณนายปิ เอเสว นโยติ


แม้ในการพรรณนากถาว่าด้วย พระโสดาบันผู้มีภพที่ 7 ก็นัยนี้
นั่นแหละ คือเช่นเดียวกับเรื่องบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบัติ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัตตมภวิกกถา จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ



1. สังวโรกัมมันติกถา 2. กัมมกถา 3. สัทโทวิปาโกติกถา
4. สฬายตนกถา 5. สัตตักขัตตุปรมกถา 6. โกลังโกลเอกพีธีกถา
7. ชีวิตาโวโรปนกถา 8. ทุคคติกถา 9. สัตตมภวิกกถา.
วรรคที่ 12 จบ